ชื่อ – นามสกุล : นางสาวมณฑา มากมี รหัส : 5220224154
Issue 2 : เซเว่นฯรีวิวแผนเวียดนามรับมือเออีซี
Date: Week9 August 12, 2011
Industry: ธุรกิจประเภท convenience store
Strategy: กลยุทธ์เชิงรับ(Offensive Attack) เน้นการขยายธุรกิจในต่างแดนหลังจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Competitor : Jiffy , TESCO express, แฟมิลี่ มาร์ท, 108shop , lemon green ,ampm etc
ประเด็นข่าว : นายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลดำเนินการ การแก้ไขกฎหมายค้าปลีกที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความทันสมัย ทันกับสถานการณ์การแข่งขันพบว่า กฎหมายค้าปลีกมีข้อจำกัดในหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ อาทิ การจำกัดพื้นที่ในการขยายสาขา ซึ่งพบว่าจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเดิมที่มีอยู่ ดำเนินธุรกิจได้อย่างเต็มที่ โดยเซเว่น เองมีแนวคิดที่จะศึกษาตลาดเวียดนามอีกครั้ง หลังจากที่เคยให้ความสนใจและศึกษามาต่อเนื่อง เพราะประเทศเวียดนาม ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพ มีประชากรหนาแน่น และมีโอกาสที่คอนวีเนียน สโตร์ จะขยายเข้าไปได้อีกมาก
Advantage : หลังจากมีการแก้กฎหมายค้าปลีก จากการจำกัดพื้นที่ในการขยายสาขา ทำให้มีโอกาสในการขยายสาขาได้มากขึ้น โดยเซเว่น เองเชื่อว่าจากประสบการณ์ที่อยู่ในธุรกิจมานานและมีความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารจัดการร้านสะดวกซื้อจะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ส่วนการขยายตัวอย่างรวดเร็วจากผู้ประกอบการรายใหม่จะทำให้เกิดตลาดใหม่ จากทำเลใหม่ๆ ด้วย
Analysis : การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของไทยได้ขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกของไทยถือว่ามีความแข็งแกร่งมากในแถบอาเซียน เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยกันเป็นโอกาสในการขยายการลงทุนเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน เซเว่นมีความสนใจที่จะลงทุนในประเทศเวียดนาม ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพ มีประชากรหนาแน่น และมีโอกาสที่คอนวีเนียน สโตร์ จะขยายเข้าไปได้อีกมากเหมาะกับเซเว่น เองมีความชำนาญกับธุรกิจนี้มานานเป็นการนำกลยุทธ์ป่าล้อมเมือง Circle Attack มาใช้ให้เหมาะกับโอกาสที่จะเกิดขึ้น
Rating : P1 = Posistive P2 = POWERFUL
เซเว่นฯรีวิวแผนเวียดนามรับมือเออีซี ส.พัฒนาผู้ประกอบการค้าปลีกทุนไทย แนะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 แก้กฎหมายค้าปลีกให้ทันยุคสมัย โดยเฉพาะการขายออนไลน์ ขณะที่ค้าปลีกไทยส่อเค้ารุนแรง หลังกำลังซื้อระดับกลาง – ล่างเพิ่มสูงต่อเนื่อง ส่งผลคอนวีเนียน สโตร์เร่งขยายตัวรองรับ ด้าน 7-11 เตรียมศึกษา วิเคราะห์การเข้าไปลงทุนในตลาดเวียดนามอีกครั้ง รับการเกิดเออีซี นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว นายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องรีบดำเนินการคือ การแก้ไขกฎหมายค้าปลีกที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความทันสมัย ทันกับสถานการณ์การแข่งขันและการดำเนินการที่เปลี่ยนแปลงทั่วโลก โดยที่ผ่านมาพบว่า กฎหมายค้าปลีกมีข้อจำกัดในหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ อาทิ การจำกัดพื้นที่ในการขยายสาขา ซึ่งพบว่าจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเดิมที่มีอยู่ ดำเนินธุรกิจได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งปัจจุบันมีรูปแบบการค้าปลีกใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น การขายผ่านออนไลน์ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุม “เมื่อก้าวสู่ยุคดิจิตอล ย่อมมีการซื้อขายรูปแบบใหม่ๆ เช่น ซื้อขายผ่านโทรศัพท์มือถือ ขายผ่านอินเตอร์เน็ต และมีปัญหาตามมาทั้งได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือสินค้ามีตำหนิ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายควบคุมหรือป้องกัน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ ดังนั้นจึงควรปรับปรุง แก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัย และทันกับกระแสที่เกิดขึ้น” นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ควรใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า ในการควบคุมการดำเนินธุรกิจของผู้บริโภค เพราะช่วงที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ประกอบการหลายรายที่มุ่งแต่แข่งขันกันอย่างหนัก โดยเฉพาะการลดราคาสินค้าต่ำกว่าทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้าง สำหรับภาพรวมของการแข่งขันธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทย เชื่อว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในค้าปลีกไซซ์เล็ก หลังจากที่มีผู้ประกอบการขยายตัวมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคในระดับกลางลงล่าง ก็มีกำลังซื้อสูงขึ้น จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากราคาพืชผลเกษตรที่ดีขึ้น รวมถึงการเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยเซเว่น เองเชื่อว่าจากประสบการณ์ที่อยู่ในธุรกิจมานานและมีความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารจัดการร้านสะดวกซื้อจะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ส่วนการขยายตัวอย่างรวดเร็วจากผู้ประกอบการรายใหม่จะทำให้เกิดตลาดใหม่ จากทำเลใหม่ๆ ด้วย จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,658 4 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 |
Leave a Reply